วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ต้นทุนที่แท้จริงของพลังงานแสงอาทิตย

Created: Wednesday, 21 December 2016 16:34

          ข่าวที่อินเดียจะสร้างโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ Kamuthi ขนาด 648 เมกะวัตต์ ซึ่งใหญ่ที่สุดในโลก นับเป็นข่าวดีด้านสิ่งแวดล้อม ที่ทั่วโลกให้ความสนใจ แต่เบื้องหลังข่าวดีๆ ยังมีความจริงอีกด้านที่ควรรับทราบด้วยเช่นกัน


          นาย Bhanu Bhusan อดีตผู้อำนวยการ Power Grid Corporation of India Ltd และอดีตคณะกรรมการกำกับกิจการไฟฟ้าของอินเดีย (Central Electricity Regulatory Commission) ได้กล่าวผ่านเว็บบล็อก The Times of India ว่า แม้พลังงานแสงอาทิตย์มีราคาถูกลง แต่ต้นทุนที่แท้จริงของพลังงานแสงอาทิตย์ คือค่าไฟฟ้ารวมที่สูงขึ้น โดยเขาได้อ้างอิงบทความเรื่อง “At Rs 3 per unit, solar power tariff hits new low” ที่กล่าวว่าค่าไฟฟ้าที่ผลิตด้วยเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาในอินเดียมีราคาต่ำสุดอยู่ที่ 3 รูปีต่อหน่วย (1.59 บาท/หน่วย) เท่ากับค่าไฟฟ้าเฉลี่ยที่ผลิตโดยโรงไฟฟ้าถ่านหินของบริษัทไฟฟ้า NTPC ของอินเดีย และไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์ ในอนาคตจะมีราคาถูกกว่าไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อน โดยนาย Bhanu Bhusan โต้แย้งไว้ในบทความเรื่อง “The real cost of solar power” ว่า แม้จะเป็นเรื่องจริง ที่ต้นทุนพลังงานแสงอาทิตย์กำลังถูกลง แต่ข้อเท็จจริงอีกด้านที่ต้องคำนึงถึงคือพลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้เกิดผลกระทบต่อต้นทุนค่าไฟฟ้าโดยรวมให้สูงขึ้น เพราะหากไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงนี้ จะทำให้เกิดการตัดสินใจในเรื่องนโยบายพลังงานไฟฟ้าที่ผิดพลาดได้
พลังงานแสงอาทิตย์ดีต่อโลก แต่เสริมความต้องการไฟฟ้าในยามที่ต้องการไม่ได้
          คุณลักษณะเฉพาะของพลังงานแสงอาทิตย์คือ สามารถผลิตไฟฟ้าได้แค่ในช่วงกลางวันเมื่อมีแสงแดด พลังงานแสงอาทิตย์จึงไม่สามารถตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าได้ในช่วงกลางคืน ซึ่งเป็นช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด จึงจำเป็นต้องมีการเพิ่มกำลังผลิตของโรงไฟฟ้าดั้งเดิม (Conventional Power Plant) ไม่ว่าจะมีการเพิ่มกำลังผลิตแสงอาทิตย์หรือไม่ก็ตาม
          “อันที่จริงแล้ว เราไม่ควรนับกำลังผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์ ในฐานะกำลังผลิตที่ช่วยสนองการใช้ไฟฟ้าในช่วงที่มีความต้องการสูง”
          พลังงานแสงอาทิตย์สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าในช่วง 8 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็น สามารถแทนที่ไฟฟ้าที่ผลิตโดยพลังงานความร้อนในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งช่วยลดปริมาณการเผาไหม้ถ่านหินและปริมาณของเถ้าที่ปล่อยจากขบวนการผลิตไฟฟ้า ลดคาร์บอนไดออกไซด์ ลดปริมาณการผลิต นำเข้า ขนส่งถ่านหิน และลดการกำจัดเถ้าจากถ่านหินด้วย ทั้งหมดเป็นข้อดีในมุมมองด้านสิ่งแวดล้อม และเป็นเหตุผลว่าทำไมโลกจึงสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และลม
พลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้อัตราการใช้ประโยชน์ของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนลดลง
          อย่างไรก็ตาม กำลังผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ที่เพิ่มขึ้น จะเป็นผลให้ Plant Load factor - PLF (พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จริงต่อความสามารถสูงสุดในการผลิตของโรงไฟฟ้า) หรืออัตราการใช้ประโยชน์ของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนลดลง เนื่องจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนต้องหยุดจ่ายไฟเข้าระบบในช่วงกลางวัน เพื่อหลีกทางให้โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์จ่ายเข้าระบบก่อน เป็นผลให้โรงไฟฟ้าความร้อนสูญเสียความมั่นคง และความคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจ
          เนื่องจาก ราคาค่าไฟฟ้าสำหรับโรงไฟฟ้าพลังความร้อน จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ค่าความพร้อมจ่าย (capacity charge) และค่าผลิตพลังงาน (energy charge) โดยค่าไฟฟ้าเฉลี่ยทั้งหมด (รวม capacity charge และ energy charge) อยู่ที่ประมาณ 3-4 รูปีต่อหน่วย (1.59-2.12 บาทต่อหน่วย) แต่ในช่วงที่ต้องหยุดจ่ายไฟ เพื่อหลีกทางให้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ขายเข้าระบบ ในช่วงดังกล่าว แม้ว่า โรงไฟฟ้าจะไม่ได้รับค่า energy charge ที่แปรผันตามต้นทุนเชื้อเพลิง ประมาณ 1.50-2 รูปีต่อหน่วย (0.8-1.06 บาทต่อหน่วย) แต่ยังต้องจ่ายค่าความพร้อมจ่ายอีกราวหน่วยละ 2 รูปี(1.06 บาท) ให้โรงไฟฟ้า
          ดังนั้น สมมติว่าค่าไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มีราคาอยู่ที่ 4 รูปีต่อหน่วย (2.12 บาทต่อหน่วย) ซึ่งผู้ควบคุมระบบต้องจ่ายไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เข้าระบบ ในช่วง 8 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็น ผู้ใช้ไฟฟ้ายังต้องจ่ายค่าความพร้อมจ่ายหรือ capacity charge อีกกว่า 2 รูปีต่อหน่วย แม้ว่าขณะนั้นราคาเฉลี่ยของค่าไฟของเซลล์แสงอาทิตย์และพลังความร้อนจะเท่ากันก็ตาม ซึ่งนับเป็นต้นทุนที่เพิ่มเข้ามาจากการที่มีการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์อยู่ในระบบ
ใครรับภาระต้นทุนส่วนเพิ่ม และพลังงานแสงอาทิตย์ควรมีสัดส่วนเท่าใด
          คำถามก็คือ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมานี้จะมีใครเป็นผู้รับภาระ หากในระบบมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ร้อยละ 5 การผลิตไฟฟ้า 1 หน่วย จะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นมากกว่า 10 ไพซ์ (100 ไพซ์ เท่ากับ 1 รูปี) และไฟฟ้าที่ขายจะมีราคาประมาณ 15 ไพซ์ ต่อ 1 หน่วย หากหน่วยงานกำกับด้านพลังงานตัดสินใจให้ผู้ใช้ไฟที่มีรายได้สูง ซึ่งใช้ไฟฟ้ารวมกันมากกว่าร้อยละ 50 เป็นผู้รับภาระ ค่าไฟฟ้าโดยเฉลี่ยที่พวกเขาต้องจ่ายจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 30 ไพซ์ต่อหน่วย ซึ่งนับเป็นราคาที่ต้องจ่ายให้กับพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนี้ และเป็นปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณากำหนดนโยบายด้านพลังงาน ว่าควรจะสนับสนุนพลังงานแสงอาทิตย์เพียงใด ในทิศทางใด
แปลและเรียบเรียง : สุภร เหลืองกำจร
ที่มา http://blogs.timesofindia.indiatimes.com/voices/the-real-cost-of-solar-power/

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บางอ้อ : กฟผ. TAPE4 ll เขื่อนของพ่อ เขื่อนภูมิพล

พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงาน ผู้ทรงเป็นแสงสว่างนำทางไทย

ท่อ PVC












ท่อ PVC แต่ละสีใช้งานแตกต่างกันอย่างไร ???
• ท่อร้อยสายไฟสีขาว
- นิยมใช้ในงานต่อเติมและงานดีไซน์ แบบเดินลอยบนผนัง ด้วยสีที่ดูกลมกลืนกับผนัง
- สามารถดัดโค้งงอได้ถึง 90 องศา โดยใช้สปริงดัดท่อแทนความร้อนได้สะดวก และประหยัดข้อต่อ
- มาตรฐานสากล JIS C 8430 (มาตรฐานญี่ปุ่น) และ BS หรือ IEC 61386 (มาตรฐานอังกฤษ)
• ท่อร้อยสายไฟสีเหลือง
- เหมาะกับระบบไฟฟ้าที่ฝังในผนัง โดยติดตั้งก่อนการฉาบปูนปกปิดผิว
- การดัดโค้งมีข้อจำกัดด้านความสวยงาม เพราะจะเห็นเนื้อสีขาวของท่อบริเวณที่ดัด
- มาตรฐานการผลิตอุตสาหกรรม (มอก.) 216-2524
• ท่อพีวีซี สีเทา
ท่อพีวีซีสีเทา หรือท่อพีวีซีแข็งสำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรม ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก. 999-2533 ท่อชนิดนี้ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในงานการเกษตรหรืองานระบายน้ำทิ้งโดยเฉพาะ เหมาะกับงานที่ไม่ต้องใช้แรงดันของท่อมากนัก แต่ท่อประเภทนี้ทาง สมอ. หรือสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ยังไม่ได้กำหนดเป็นกฏเกณฑ์ตายตัวว่าต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี มอก. 999-2533 สำหรับในงานระบายน้ำทิ้งหรืองานด้านการเกษตร แต่ถ้าหากจะนำไปใช้ในงานด้านอุตสาหกรรมจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ท่อพีวีซีสีเทาที่มี มอก. 999-2533 เพราะทาง สมอ. จำเป็นต้องคำนึงถึงความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อม เพราะการระบายน้ำทิ้งในงานอุตสาหกรรมอาจมีสารพิษหรือสารเคมีเจือปน ระบายออกมาด้วย
• ท่อพีวีซี สีฟ้า
ท่อพีวีซีสีฟ้า หรือ ท่อพีวีซีแข็งสำหรับใช้เป็นท่อน้ำดื่ม ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก. 17-2532 ท่อชนิดนี้เป็นที่นิยมใช้งานประปาสุขาภิบาลภายในอาคาร เช่น ใช้เป็นท่อน้ำประปา หรือใช้กับปั๊มน้ำ ซึ่งท่อประเภทนี้เป็นเพียงประเภทเดียวใน 3 สหายของเราที่มีการระบุมาตรฐานความดันหรือชั้นคุณภาพ อันได้แก่ PVC 5, PVC 8.5, PVC 13.5 ซึ่งตัวเลขที่ได้ระบุคือค่าความดันระบุและค่าความดันระบุหมายถึง ความดันที่กำหนดให้สำหรับใช้งาน ณ อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส โดยในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้อธิบายไว้ว่า ชั้นคุณภาพคือ ความดันระบุที่มีหน่วยเป็นเมกะพาสคัล

เขื่อนภูมิพล4













เขื่อนภูมิพล 3











เขื่อนภูมิพล 2











เขื่อนภูมิพล 1











ทำไม ต้องเป็น 3 เฟส,



ทำไม ต้องเป็น 3 เฟส, 
แล้วทำไม ไม่เป็น 4 เฟส, 5 เฟส, 6 เฟส, ...
ทำไมนะ ?
Answer...? Why...? Reason...?
---------------------------------------------------
...จริงๆแล้วเราสามารถทำไฟฟ้าให้เป็นกี่เฟสก็ได้
แต่เหตุที่เลือกใช้ระบบ 3 เฟสนั้น มีปัจจัยที่สนับสนุนที่พอสรุปได้ตามนี้
1. พิจารณาที่โครงสร้างของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
2. พิจารณาทางสมการไฟฟ้า
3. พิจารณาตามหลักเศรษฐศาสตร์
-------------------------------------------------
*1) พิจารณาที่โครงสร้างของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
อันนี้ต้องมองลักษณะทางกายภาพ
- โดยปกติกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเฟสเดียว จะมีตัวเหนี่ยวนำเพียงตัวเดียว เมื่อมันหมุน 1รอบ(หมุนเป็นวงกลม) หรือ 1 cycle มันก็จะผลิตกระแสไฟฟ้าที่คาบเวลา 1รอบ ที่ 360 องศา (ถ้าทำให้มันหมุน 50 รอบต่อวินาที ก็จะได้กระแสไฟฟ้าที่ผลิตออกมาที่ 50 Hz)
- ที่นี่เรามามองแบบ 3 เฟสบ้าง การออกแบบ 3 เฟสเขาทำมาก็เพิ่มกำลังงานระบบให้มันสูงขึ้น(ชดเชยกำลังงานช่วงคาบเวลาที่กระแสไฟฟ้าในตัวเหนี่ยวนำลดลง) ในเมื่อต้องกระแสไฟฟ้า 3 เฟส ก็ต้องใช้ตัวเหนี่ยวนำ 3 ตัว การวางตัวเหนี่ยวนำจำเป็นต้องวางตำแหน่งต่างมุมกัน 120 องศา (360 หาร 3) ทั่งนี้เพื่อให้ 1 รอบการหมุน ก็ให้ผลิตกระแสไฟฟ้าต่อเนื่องกันพอดี
- ที่นี้ลองมานึกดูว่า ถ้าเราสมมุติมาวางใหม่ที่มุม 90 องศา จะเกิดอะไร
ให้เฟสแรกทำงานที่ 0 องศา กระแสไฟฟ้าขาลงก็จะไปจบที่ 360 องศา
ให้เฟสที่2 ทำงานที่ 90 องศา กระแสไฟฟ้าขาลงก็ะไปจบที่ 90 องศาใน cycle ถัดไป
ให้เฟสที่3 ทำงานที่ 180 องศา กระแสไฟฟ้าขาลงก็ะไปจบที่ 180 องศาใน cycle ถัดไป
ครบตามเรากำหนดแล้ว แต่ว่ากระแสไฟฟ้าที่เหนี่ยวนำที่มุม ระหว่าง 270 - 360 ไม่มีการเหนี่ยวนำ ก็จะทำให้กำลังงานในช่วงนี้ลดน้อยลง ถ้าจะสังเกตเห็นว่ากำลังงานเฉลี่ยในทุกคาบของเวลา ก็จะสูงๆต่ำๆ กำลังงานจะไม่คงที่และไม่ต่อเนื่อง คล้ายลักษณะกระพืมวูบวาบ จึงไม่เหมาะสมจ่ายเป็นกำลังงานออกไป
*2) พิจารณาทางสมการ
ในที่นี้จะไม่ขอพิสูจน์ละกันเพราะยาวมาก จะยกค่าจริงมาให้ดู
เมื่อกำหนดให้กำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้เป็น P
อ้างอิงจากหนังสือ Electric Energy:its generation,transmission and use โดย E. R. LAITHWAITE กับ L. L. FRERIS
McGRAW- HILL
ตาราง 2.2 หน้า38 จะอธิบายไว้ ดังนี้
No. of PHASES CAPACITY FIGURE No. of LINE
1 phase = P
2 phase = 1.414*P
3 phase = 1.5*P
4 phase = 1.53*P
... ......
n phase = 1.57*P (infinity 1.570 infinity)
จะเห็นว่ายิ่งเพิ่มจำนวนเฟสมากขึ้นกำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้ก็จะมากขึ้นเท่านั้น
แต่จะเห็นว่าพอมากกว่า 3 เฟสขึ้นไปกำลังไฟฟ้าที่ได้ จะเพิ่มขึ้นน้อยมาก
*3) พิจารณาตามหลักเศรษฐศาสตร์
จากข้อ 1 และ 2 เมื่อพิจารณาถึงความคุ้มค่าเเล้ว 3 เฟส จึงเหมาะสมที่สุด
เพราะถ้าใช้ 4 เฟสมันก็จะเปลืองตัวนำ เปลืองระบบส่งจ่ายอีกใหญ่โต
ไม่คุ้มกับการที่ได้กำลังไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมาอีกนิดเดียว
แล้วที่เห็นว่ามีการใช้ไฟฟ้า 1 เฟสตามเครื่องใช้ไฟฟ้าก็เพราะมันไม่ต้องการกำลังไฟฟ้ามาก
จึงสามารถใช้ไฟฟ้า เฟสเดียวก็พอ อีกทั้งยังประหยัดสาย รวมทั้งลดความยุ่งยากของระบบลง
ถ้าอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดใดต้องการกำลังไฟฟ้าสูงๆ ก็จะใช้ไฟฟ้า 3 เฟสเเทน

ตำแหน่งของการติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว
















ตำแหน่งของการติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วก็มีผลต่อการทำงานนะ
... มีเครื่องตัดไฟรั่ว แต่พอไฟรั่วขึ้นมากลับไม่ตัด เป็นเพราะอะไร ?
การติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วนั้นมีความสำคัญมาก หากติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วไม่ถูกต้อง อาจจะมีผลเสียมากกว่าผลดีนะ เนื่องจากเครื่องตัดไฟรั่วจะไม่ปลดวงจร เมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าเกิดไฟรั่ว แต่ผู้ใช้งานคิดว่าเครื่องตัดไฟรั่วทำงานได้ปกติ ทำให้ไม่ระมัดระวังการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า
การติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วที่แผงสวิตซ์ไม่ถูกต้อง ดังแสดงในรูปที่ 2 เครื่องตัดไฟรั่วจะไม่ปลดวงจร เมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าเกิดไฟรั่ว เพราะผลรวมของกระแส (I1-I2) ผ่านเครื่องตัดไฟรั่วมีค่าเป็นศูนย์ (กระแสไฟไหลเข้าเท่ากับกระแสไฟไหลกลับ)
การติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วที่แผงสวิตซ์ที่ถูกต้อง ดังแสดงในรูปที่ 1 เครื่องตัดไฟรั่วจะปลดวงจร เมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าเกิดไฟรั่ว เพราะผลรวมของกระแสไฟฟ้า (I1-I2) ที่ผ่านเครื่องตัดไฟรั่วมีค่าไม่เป็นศูนย์ (กระแสไฟไหลเข้าไม่เท่ากับกระแสไฟไหลกลับ คือไม่หักล้างกันหมด)
คำถาม...หากรูปที่ 2 เป็นการติดตั้งที่ผิด แล้วจะแก้ไขอย่างไรดีละ หากทำการติดตั้งไปแล้ว โดยการแก้ไขแค่สลับสายที่ต่อลงดินที่บัสบาร์กราวด์เท่านั้น ต่อย่างไรดีละ โดยไม่ต้องสลับตำแหน่งของเครื่องตัดไฟรั่วตามรูปที่ 1 ก็ได้

มาตรฐาน IEC















มาตรฐาน IEC คืออะไร..??
IEC (Internationnal Electrotechique Commission) คือ คณะกรรมมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานสาขาอิเล็คทรอเทคนิค เป็นองค์กรอิสระที่ร่วมมือกันจัดตั้งเพื่อกำหนดมาตรฐานด้านไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิค และทำการจัดทำแบบการประเมินเพื่อการรับรองคุณภาพ จัดตั้งขึ้นในปี พศ. 2449
มาตรฐาน IEC ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ตามแนวโน้มความเป็นสากลของโลก และตามโลกาภิวัฒน์ โดยขณะนี้ IEC มีประเทศสมาชิกเกือบทุกประเทศในโลก
หลายประเทศได้นำมาตรฐาน IEC ไปประยุกต์ใช้ในประเทศของตน ซึ่งอาจจะเป็นประยุกต์ใช้แบบเต็มรูปแบบ หรือประยุกต์ใช้บางส่วน แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละประเทศ
ในแต่ละประเทศจะมีกรรมการแห่งชาติ 1 ชุด โดยในประเทศไทย กรรมธิการที่เข้าร่วมกับ IEC คือ สมอ. (TISI) หรือ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนั่นเอง โดยเข้าร่วมตั้งแต่ปี พศ.2534 ในประเภท full member คือ มีสิทธิเข้าร่วมกิจกรรมต่างได้อย่างเต็มที่และสามารถเข้าร่วมกำหนดมาตรฐานได้
ข้อดีของการมีมาตรฐานร่วมกันคือ จะทำให้การออกแบบ การผลิต การใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์ไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในทางการค้า และขจัดการกีดกันทางการค้าที่มาในรูปแบบของข้อกำหนดมาตรฐานต่างๆ
เอามาตรฐานของ IEC ที่ได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ มาให้ดูกันครับ
ใครสนใจเรื่องอะไรลองเอา Code ไปหาต่อยอดกันได้ต่อนะครับ
• IEC 60027 Letter symbols to be used in electrical technology
• IEC 60034 Rotating electrical machinery
• IEC 60038 IEC Standard Voltages
• IEC 60041 Field acceptance tests to determine the hydraulic performance of hydraulic turbines, storage pumps and pump-turbines
• IEC 60044 Instrument transformers
• IEC 60050 International Electrotechnical Vocabulary
• IEC 60062 Marking codes for resistors and capacitors
• IEC 60063 Preferred number series for resistors and capacitors
• IEC 60065 Audio, video and similar electronic apparatus – Safety requirements
• IEC 60068 Environmental Testing
• IEC 60071 Insulation Co-ordination
• IEC 60073 Basic Safety principles for man-machine interface, marking and identification
• IEC 60076 Power transformers
• IEC 60077 Railway applications - Electric equipment for rolling stock
• IEC 60079 Parts 1–14 Electrical Installations in Hazardous Areas
• IEC 60083 Plugs and socket-outlets for domestic and similar general use standardized in member countries of IEC
• IEC 60085 Electrical insulation
• IEC 60086 Primary batteries
• IEC 60092 Electrical installations on ships
• IEC 60094 Magnetic tape sound recording and reproducing systems
• IEC 60096 Radio-frequency cables
• IEC 60098 Rumble measurement on Vinyl Disc Turntables
• IEC 60099 Surge arresters
• IEC 60134 Absolute maximum and design ratings of tube and semiconductor devices
• IEC 60137 Bushings for alternating voltages above 1000V
• IEC 60146 Semiconductor Converters
• IEC 60169 Radio-frequency connectors
• IEC 60183 Guide to the selection of high voltage cables
• IEC 60193 Hydraulic turbines, storage pumps and pump-turbines - Model acceptance tests
• IEC 60204 Safety of machinery - Electrical equipment of machines
• IEC 60214 On-load tap changers
• IEC 60228 Conductors of insulated cables
• IEC 60233 Tests on Hollow Insulators for use in Electrical Equipment
• IEC 60238 Edison screw lampholders
• IEC 60239 Graphite electrodes for electric arc furnaces – Dimensions and designation
• IEC 60245 Rubber-Insulated Cables
• IEC 60255 Electrical Relays
• IEC 60268 Sound system equipment
• IEC 60269 Low voltage fuses
• IEC 60270 High-Voltage Test Techniques – Partial Discharge Measurements
• IEC 60273 Characteristics of indoor and outdoor post insulators for systems with nominal voltages greater than 1000V
• IEC 60287 Calculation of permissible current in cables at steady state rating
• IEC 60296 Mineral Insulating oils for transformers & switchgear
• IEC 60297 Dimensions of mechanical structures of the 482.6 mm (19 in) series
• IEC 60298 high voltage switchgear in metallic enclosure
• IEC 60308 Hydraulic turbines - Testing of control systems
• IEC 60309 Plugs, socket-outlets and couplers for industrial purposes
• IEC 60317 Specifications for particular types of winding wires
• IEC 60320 Appliance couplers for household and similar general purposes
• IEC 60331 Tests for Electric Cables under Fire Conditions
• IEC 60335 Safety of electrical household appliances
• IEC 60364 Electrical installations of buildings
• IEC 60397 Test methods for batch furnaces with metallic heating resistors
• IEC 60398 Installations for electroheating and electromagnetic processing - General test methods
• IEC 60417 Graphical symbols for use on equipment
• IEC 60439 Low voltage switchgear and control gear assemblies
• IEC 60445 Basic and safety principles for man-machine interface
• IEC 60446 Wiring colours
• IEC 60479 Effects of current on human beings and livestock
• IEC 60502 Power cables with extruded insulation and their accessories for rated voltages from 1kV up to 30kV
• IEC 60519 Safety in installations for electroheating and electromagnetic processing
• IEC 60529 Degrees of protection provided by enclosures (IP Code)
• IEC 60545 Guide for commissioning, operation and maintenance of hydraulic turbines
• IEC 60571 Electronic equipment used on rail vehicles
• IEC 60574 Audio-visual, video and television equipment and systems
• IEC 60598 Luminaires
• IEC 60559 Binary floating-point arithmetic for microprocessor systems
• IEC 60601 Medical Electrical Equipment
• IEC 60603 Connectors for frequencies below 3 MHz for use with printed boards
• IEC 60609 Hydraulic turbines, storage pumps and pump-turbines - Cavitation pitting evaluation - Part 1: Evaluation in reaction turbines, storage pumps and pump-turbines - Part 2: Evaluation in Pelton turbines
• IEC 60617 Graphical symbols for diagrams
• IEC 60651 Sound level meters
• IEC 60664 Insulation coordination for equipment within low-voltage systems
• IEC 60669 Switches for household and similar fixed-electrical installations
• IEC 60676 Industrial electroheating equipment - Test methods for direct arc furnaces
• IEC 60680 Test methods of plasma equipment for electroheat and electrochemical applications
• IEC 60683 Test methods for submerged arc furnaces
• IEC 60694 Common Specifications For High-Voltage Switchgear and Controlgear Standards
• IEC 60703 Test methods for electroheating installations with electron guns
• IEC 60715 Dimensions of low-voltage switchgear and controlgear. Standardised mounting on rails for mechanical support of electrical devices in switchgear and controlgear installations.
• IEC 60721 Classification of environmental conditions
• IEC 60726 Dry type power transformers
• IEC 60728 Cable networks for television signals, sound signals and interactive services
• IEC 60730 Class B certification requirements for appliances.
• IEC 60747 Semiconductor devices; Part 1: General
• IEC 60748 Semiconductor devices – integrated circuits
• IEC 60774 VHS/S-VHS video tape cassette system
• IEC 60793 Optical fibres
• IEC 60779 Test methods for electroslag remelting furnaces
• IEC 60801 EMI and RFI Immunity
• IEC 60805 Guide for commissioning, operation and maintenance of storage pumps and of pump-turbines operating as pumps
• IEC 60812 International Standard on Fault Mode and Effects Analysis
• IEC 60815 Selection and dimensioning of high-voltage insulators intended for use in polluted conditions
• IEC 60825 Laser safety
• IEC 60849 Sound Systems for Emergency Purposes
• IEC 60865-1 Short Circuit Current: Calculation of Effects
• IEC 60870 Telecontrol equipment and systems
• IEC 60874 Connectors for optical fibres
• IEC 60884 Plugs and socket-outlets for household and similar purposes
• IEC 60898 Electrical accessories. Circuit breakers for overcurrent protection for household and similar installations.
• IEC 60906 IEC system of plugs and socket-outlets for household and similar purposes
• IEC 60908 Compact disk digital audio system
• IEC 60921 Ballasts for tubular fluorescent lamps – Performance requirements
• IEC 60929 AC-supplied electronic ballasts for tubular fluorescent lamps – Performance requirements
• IEC 60942 Electroacoustics – Sound calibrators
• IEC 60945 Maritime Navigation and Radiocommunication Equipment and Systems – General Requirements – Methods of Testing and Required Test Results
• IEC 60947 Standards for low-voltage switchgear and controlgear
• IEC 60950 Safety of information technology equipment
• IEC 60994 Guide for field measurement of vibrations and pulsations in hydraulic machines (turbines, storage pumps and pump-turbines)
• IEC 61000 Electromagnetic compatibility (EMC)
• IEC 61009 Residual current operated circuit breakers with integral overcurrent protection for household and similar uses (RCBO's)
• IEC 61010 Safety requirements for electrical equipment for measurement, control and laboratory use
• IEC 61025 Fault tree analysis
• IEC 61030 Domestic Digital Bus - a standard for a low-speed multi-master serial communication bus for home automation applications.
• IEC 61043 Sound intensity meters with pairs of microphones
• IEC 61058 Switches for Appliances
• IEC 61084 Cable trunking and ducting systems for electrical installations
• IEC 61097 Global maritime distress and safety system (GMDSS)
• IEC 61116 Electromechanical equipment guide for small hydroelectric installations
• IEC 61131 Programmable Logic Controllers
• IEC 61149 Safety of mobile radios
• IEC 61156 Multicore and symmetrical pair/qud cables for digital communications
• IEC 61158 Industrial communication networks – Fieldbus specifications
• IEC 61162 Maritime navigation and radiocommunication equipment and systems, Digital Systems
• IEC 61164 Reliability growth – Statistical test and estimation methods
• IEC 61174 Maritime Navigation and Radio Communications, Electronic Chart Display and Information System (ECDIS)
• IEC 61194 Characteristic parameters of stand-alone photovoltaic (PV) systems
• IEC 61211 Insulators of ceramic material or glass for overhead lines with a nominal voltage greater than 1 000 V - Impulse puncture testing in air
• IEC 61215 Crystalline silicon terrestrial photovoltaic (PV) modules – Design qualification and type approval
• IEC 61238 Compression and mechanical connectors for power cables for rated voltages up to 30 kV
• IEC 61241 Electrical apparatus for use in the presence of combustible dust
• IEC 61277 Terrestrial photovoltaic (PV) power generating systems – General and guide
• IEC 61280 Field testing method for measuring single mode fibre optic cable
• IEC 61286 Character set with electrotechnical symbols
• IEC 61307 Industrial microwave heating installations – Test methods for the determination of power output
• IEC 61308 High-frequency dielectric heating installations – Test methods for the determination of power output
• IEC 61326 Electrical equipment for measurement, control and laboratory use – EMC requirements
• IEC 61334 Distribution automation using distribution line carrier systems - a standard for low-speed reliable power line communications by electricity meters, water meters andSCADA [1]
• IEC 61345 UV test for photovoltaic (PV) modules
• IEC 61346 Industrial systems, installations and equipment and industrial products – Structuring principles and reference designations
• IEC 61347 Lamp Controlgear
• IEC 61355 Classification and designation of documents for plants, systems and equipment
• IEC 61362 Guide to specification of hydraulic turbine control systems
• IEC 61364 Nomenclature for hydroelectric powerplant machinery
• IEC 61366 Hydraulic turbines, storage pumps and pump-turbines - Tendering Documents
• IEC 61378 Converter Transformers
• IEC 61400 Wind turbines
• IEC 61439 Low-Voltage switchgear and controlgear assemblies
• IEC 61467 Insulators for overhead lines - Insulator strings and sets for lines with a nominal voltage greater than 1 000 V - AC power arc tests
• IEC 61499 Function blocks
• IEC 61508 Functional safety of electrical/electronic/programmable electronic safety-related systems
• IEC 61511 Functional safety – safety instrumented systems for the process industry sector
• IEC 61513 Functional safety – safety instrumented systems for the Nuclear Industries
• IEC 61537 Cable management – Cable tray systems and cable ladder systems
• IEC 61549 Miscellaneous lamps - including fragment retention lamps
• IEC 61557 Equipment for measuring electrical safety in low-voltage distribution systems
• IEC 61558 Safety of power transformers, power supplies, reactors and similar products
• IEC 61588 Precision clock synchronization protocol for networked measurement and control systems
• IEC 61603 Infrared transmission of audio or video signals
• IEC 61642 Industrial a.c. Networks Affected by Harmonics – Application of Filters and Shunt Capacitors
• IEC 61643 Surge protective devices connected to low-voltage power distribution systems
• IEC 61646 Thin-film terrestrial photovoltaic (PV) modules – Design qualification and type approval
• IEC 61672 Electroacoustics – Sound level meters
• IEC 61690 Electronic design interchange format, EDIF
• IEC 61701 Salt mist corrosion testing of photovoltaic (PV) modules
• IEC 61724 Photovoltaic system performance monitoring – Guidelines for measurement
• IEC 61727 Photovoltaic (PV) systems – Characteristics of the utility interface
• IEC 61730 Photovoltaic modules
• IEC 61753 Fibre optic interconnecting devices and passive components performance standard
• IEC 61784 Industrial communication networks – Profiles
• IEC 61800 Adjustable speed electrical power drive systems
• IEC 61803 Determination of power losses in high-voltage direct current (HVDC) converter stations
• IEC 61829 Crystalline silicon photovoltaic (PV) array – On-site measurement of I-V characteristics
• IEC 61846 Ultrasonics – Pressure pulse lithotripters – Charactertics of fields
• IEC 61850 Communication Networks and Systems in Substations
• IEC 61883 Consumer audio/video equipment - Digital interface
• IEC 61892 Mobile and fixed offshore units, electrical installations
• IEC 61922 High-frequency induction heating installations – Test methods for the determination of power output of the generator
• IEC 61966 Multimedia systems -- Colour measurement
• IEC 61968 Application integration at electric utilities – System interfaces for distribution management
• IEC 61970 Application integration at electric utilities – Energy management system application program interface (EMS-API)
• IEC 61992 Railway applications - Fixed installations - DC switchgear
• IEC 61993 Maritime navigation and radiocommunication equipment and systems.
• IEC 62006 Hydraulic machines - Acceptance tests of small hydroelectric installations
• IEC 62040 Uninterruptible power systems
• IEC 62041 EMC requirements for power transformers, power supplies, reactors and similar products
• IEC 62056 DLM/COSEM communication protocol for reading utility meters
• IEC 62076:2006, Industrial electroheating installations – Test methods for induction channel and induction crucible furnaces
• IEC 62087 Methods of measurement for the power consumption of audio, video and related equipment
• IEC 62097 Hydraulic machines, radial and axial - Performance conversion method from model to prototype
• IEC 62108 Concentrator photovoltaic (CPV) modules and assemblies – Design qualification and type approval
• IEC/TR 62157 Cylindrical machined carbon electrodes – Nominal dimensions
• IEC 62196 Plugs and sockets for charging electric vehicles
• IEC 62256 Hydraulic turbines, storage pumps and pump-turbines - Rehabilitation and performance improvement
• IEC 62262 Degrees of protection provided by enclosures for electrical equipment against external mechanical impacts (IK code)
• IEC 62264 Enterprise-control system integration
• IEC 62270 Hydroelectric power plant automation – Guide for computer-based control
• IEC 62271 Standards for high-voltage switchgear and controlgear
• IEC 62278 Railway applications – Specification and demonstration of reliability, availability, maintainability and safety (RAMS)
• IEC 62282 Fuel cell technologies
• IEC 62301 Household electrical appliances – Measurement of standby power
• IEC 62304 Medical Device Software – Software Life Cycle Processes
• IEC 62305 Protection Against Lightning
• IEC 62325 Standards related to energy market models & communications
• IEC 62351 Power System Control and Associated Communications – Data and Communication Security
• IEC 62353 Medical electrical equipment - Recurrent test and test after repair of medical electrical equipment
• IEC 62365 Digital audio – Digital input-output interfacing – Transmission of digital audio over asynchronous transfer mode (ATM) networks
• IEC 62366 Medical devices – Application of usability engineering to medical devices
• IEC 62379 Common control interface for networked digital audio and video products
• IEC 62388 Maritime Navigation and Radio Communications, Shipborne Radar
• IEC 62395 Electrical resistance trace heating systems for industrial and commercial applications
• IEC 62443 Industrial communication networks – Network and system security (DRAFT)
• IEC 62455 Internet protocol (IP) and transport stream (TS) based service access
• IEC 62464 Magnetic resonance equipment for medical imaging
• IEC 62471 Photobiological safety of lamps and lamp systems
• IEC 62474 Material declaration for products of and for the electrotechnical industry
• IEC 62481 Digital living network alliance (DLNA) home networked device interoperability guidelines
• IEC 62502 Analysis techniques for dependability – Event tree analysis (ETA)
• IEC 62693 Industrial electroheating installations – Test methods for infrared electroheating installations
• IEC/TS 62796 Energy efficiency in electroheating installations
• IEC 62798 Industrial electroheating equipment – Test methods for infrared emitters
• IEC 80001 Application of risk management for IT-networks incorporating medical devices – Part 1: Roles, responsibilities and activities

มาตรฐานเกี่ยวกันงานไฟฟ้า












มารู้จักมาตรฐานเกี่ยวกันงานไฟฟ้ากันเถอะ
-----------------------------------------------
ปกติมาตรฐานในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า นั้นมีอยู่หลากหลายมาตรฐาน แต่พอจะแบ่งออกได้เป็น 2 อย่างคือ
1) มาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้า
2) มาตรฐานการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้า
-----------------------------------------------
ซึ่งแต่ละมาตรฐานยังแบ่งออกได้อีก 3 อย่าง คือ
- มาตรฐานสากล
- มาตรฐานประจำชาติ
- มาตรฐานของแต่ละหน่วยงาน
-----------------------------------------------
1) มาตรฐานสากล เช่น ISO, IEC , EN
- ISO (International Organization for Standardization) : เป็นมาตรฐานทั่วไปทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (ยกเว้นทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์) เช่น ISO9000, 9001, 9002 (เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์สินค้า), ISO14000 (เกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม)
- IEC (International Electrotechnical Commission) : เป็นองค์กรระหว่างประเท ศที่ร่างมาตรฐานทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และ โดยขณะนี้ IEC มีประเทศสมาชิกเกือบทุกประเทศในโลกแล้ว ซึ่งรวมถึงไทยด้วย
- EN (European Standard) : ในหลายประเทศในทวีปยุโรปได้รวมตัวกันจัดตั้งคณะกรรมการที่มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานทางไฟฟ้าซึ่งเรียกว่า CENELEC (European Committee for Electrotechnical Standardization) โดย CENELEC ได้จัดทำมาตรฐานทางไฟฟ้าของยุโรป คือ EN (European Standard) ซึ่งมาตรฐาน EN นี้เป็นมาตรฐานบังคับ กล่าวคือ ถ้าอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ได้ตามมาตรฐานนี้ จะนำเข้ามาขายในกลุ่มประเทศสมาชิกไม่ได้
ข้อดีของการมีมาตรฐานร่วมกันคือ จะทำให้การออกแบบ การผลิต การใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในทางการค้า และขจัดการกีดกันทางการค้าที่มาในรูปแบบของข้อกำหนดมาตรฐานต่างๆ และนอกจากนี้ยังต้องการให้ทุกประเทศในกลุ่มมีมาตรฐานเดียวกัน
( สำหรับประเทศไทย หน่วยงาน สมอ (TISI ) เข้าร่วมเป็นสมาชิกประเภท Full member กับ IEC เมื่อปี พ.ศ 2534 )
-----------------------------------------------
2) มาตรฐานประจำชาติ
- ประเทศอุตสหกรรมที่สำคัญในโลก ต่างมีมาตรฐานของตนเองมานานแล้ว โดยมาตรฐานประจำชาติของแต่ละประเทศต่างร่างขึ้นใช้ภายในประเทศของตนเอง เพื่อให้ตรงวิธีปฎิบัติของตนเอง นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมของประเทศนั้นๆ ด้วย
มาตรฐานประจำชาติที่สำคัญ ได้แก่
- ANSI (American National Standard Institute) ของประเทศสหรัฐอเมริกา
- NEC (National Electrical Code) ของประเทศสหรัฐอเมริกา
- BS (British Standard) ของประเทศอักกฤษ
- DIN (German Industrial Standard) ของประเทศเยอรมันนี
- VDE (Verband Deutscher Elektrotechniker) ของประเทศเยอรมันนี
- JIS (Japan Industrial Standard) ของประเทศญี่ปุ่น
- TIS หรือ มอก. (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสหกรรม) ของประเทศไทย
- EIT หรือ วสท. (มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า) ของประเทศไทย
-----------------------------------------------
3) มาตรฐานของแต่ละหน่วยงาน
- ซึ่งก็เป็นการนำเอามาตรฐานสากลหรือมาตรฐานประจำชาติต่างๆ เอามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละหน่วยงานนั้นๆ
-----------------------------------------------
*** ในขณะนี้มาตรฐานประจำชาติ ของชาติอุตสหรรมใหญ่ๆ ได้ลดความสำคัญลงมากตามโลกาภิวัฒน์ และเนื่องจากมาตรฐานประจำชาติถือเป็นกำแพงการค้าอย่างหนึ่ง หลายๆ ประเทศจึงได้พยายามปรับปรุงมาตรฐานประจำชาติของตนเองใหม่ให้ตรงตามมาตรฐานสากล และหลายประเทศได้ยกเลิกมาตรฐานของตนเองโดยนำมาตรฐานสากลทั้งฉบับมาใช้เป้นมาตรฐานประจำชาติของตน
*** สำหรับประทเศไทยในอดีตการทำมาตรฐานทางไฟฟ่าวนมากจะแปลเรียบเรียงมาจากมาตรฐาน IEC การแปลนั้นต้องใช้เวลามากและความหมายอาจจะไม่ตรงกับความหมายเดิม แต่ในขณะนี้มาตรฐานสำหรับอุปกรร์ไฟฟ้านั้นไม่มีการแปลและเรีบเรียงอีกต่อไป แต่จะนำมาตรฐาน IEC ทั้งฉบับซึ่งเขียนเป็นภาษาอักกฤษมาเป็นมาตรฐานไทยเลยตามแนวปฎิบัติซึ่งหลายๆประเทศในโลกกำลังทำอยู่
-----------------------------------------------
*** เมื่อรู้จักมาตรฐานกันแล้วมาดูต่อไปว่า...มาตรฐานตัวไหน พูดถึง มาตรฐานอุปกรณ์ และมาตรฐานตัวไหนพูดถึงการติดตั้งบ้าง
-----------------------------------------------
1) มาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้า
- อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในระบบไฟฟ้ามีอยู่มากมายหลายชนิดส่วนมากจะมีมาตรฐานควบคุมคุณภาพอยู่แล้วโดยมาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้าที่นิยมใช้กันมาก คือ IEC จะสังเกตได้จากแคตตาลอกของอุปกรณ์ไฟฟ้าจะอ้างอิงถึงมาตรฐานนี้อยู่เสมอ เช่น เซอร์กิตเบรกเกอร์ จะอ้างอิงมาตรฐาน IEC- 60947-2 “Low Voltage Switchgear and Control Gear Part 2” เป็นต้น
- ดังนั้นในการออกแบบระบบรวมถึงข้อกำหนดของอุปกรณ์ไฟฟั้นั้น ในประเทศไทย รายละเอียดที่กำหนดในแบบโดยมากจะอ้างอิงมาจาก มอก. และมาตรฐาน IEC เป็นหลัก หรือบ้างครั้งก็ใช้มาตรฐานอื่นประกอบหากอปุกรณ์ดังกล่าวไม่มีอยู่ในมาตรฐานไทยหรือมาตรฐาน IEC
-----------------------------------------------
2) มาตรฐานการออกแบบและติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้า
2.1) มาตรฐานต่างประเทศในการการออกแบบและติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้า
- มาตรฐานต่างประเทศที่นิยมใช้กันมากในประเทศไทย คือ NEC (National Electrical Code) ซึ่งเป็นมาตรฐานการออกแบบและติดตั้งระบบ และอุปกรณ์ไฟฟ้าของประเทศสหรัฐอเมริกา มีครั้งแรกตั้งแต่ปี 1897 และมีการแก้ไขปรับปรุงทุกๆ 3 ปี จึงนับได้ว่าเป็นมาตรฐานการออกแบบและติดตั้งที่สมบูรณ์มาก มาตรฐาน NEC ได้เข้ามาในประเทศไทยอย่างมากในช่วงที่ประเทศสหรัฐอเมริกามีฐานทัพในประเทศไทย วิศวกรไฟฟ้าของไทยส่วนมากจึงนิยมใช้ NEC เป็นพื้นฐานในการออกแบบ และติดตั้งระบบไฟฟ้า
- โดยมาตรฐาน NEC นั้นเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน NFPA (National Fire Protection Association) ในหมวดมาตรฐาน NFPA70 โดย NFPA ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1896 เป็นองค์กรชั้นนำของโลกที่สนับสนุนกิจกรรมด้านการป้องกันอัคคีภัยสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นองค์กรที่ประกอบกิจกรรมโดยไม่แสวงหาผลกำไร (Non-Profit Organization) มีสมาชิกรายบุคคลทั่วโลกกว่า 75,000 ราย และมีองค์กรทางวิชาชีพและทางการค้าระดับนานาชาติเป็นสมาชิกกว่า 80 องค์กร ภารกิจหลักของ NFPA คือ จัดทำและสนับสนุนการกำหนดมาตรฐาน ที่พัฒนามาจากสถิติและข้อมูลความเสียหายจริงของชีวิตและทรัพย์สิน อันเนื่องมาจากอัคคีภัยและอุบัติภัยต่างๆ ด้วยวิธีประชามติ การวิจัย การฝึกอบรม และการให้ความรู้ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะลดปัญหาและความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากอัคคีภัยและอุบัติภัยต่างๆ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรโลก นอกจากนี้ NFPA ยังเป็นแหล่งรวมข้อมูลที่สำคัญด้านความปลอดภัยของสาธารณชน มาตรฐานความปลอดภัยของ NFPA กว่า 300 ประเภท ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ และนำมาใช้ในกระบวนการก่อสร้างและบริหารจัดการอาคารให้มีความปลอดภัย โดยครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบ ติดตั้ง ตรวจสอบ จนถึงการดับเพลิงเมื่อเกิดอัคคีภัย
- แม้ว่า NEC หรือ NFPA70 จะเป็นมาตรฐานที่ดีมาก ทำจากประสบการณ์ซึ่งมีอยู่มากมายในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่มีข้อกำหนดที่วิศวกรไฟฟ้าไทยต้องอ่านและทำความเข้าใจอย่างระมัดระวัง เพื่อให้การประยุกต์ใช้เป็นไปอย่างถูกต้อง เนื่องจากระบบต่างๆ ที่ใช้ในประเทศอเมริกาตาม NEC นั้น มีจ้อแตกต่างจากระบบภายในประเทศไทยหลายอย่างด้วยกัน เช่น ความถี่-อเมริกาใช้ 60Hz แต่ไทยใช้ 50Hz, ระบบแรงดันไฟฟ้า-อเมริกาใช้ 120/208V, 277/480V แต่ไทยใช้ 230/400V, ขนาดสายไฟ-อเมริกาใช้หน่วยเป็น AWG แต่ไทยใช้เป็น ตารางมิลลิเมตร, ขนาดและมิติ-อเมริกาใช้เป็น นิ้ว, ฟุต แต่ไทยใช้เป็น เมตร, น้ำหนัก-อเมริกาใช้หน่วยเป็น ปอนด์ แต่ไทยใช้เป็น กิโลกรัม เป็นต้น
- IEEE คือ สถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์นานาชาติ ชื่อเต็มคือ Institute of Electrical and Electronic Engineers ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1963 ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยการรวมตัวของวิศวกรไฟฟ้าและวิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งดำเนินกิจกรรมร่วมกันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคม ระบบไฟฟ้ากำลัง และระบบแสง สถาบัน IEEE เป็นสถาบันที่กำกับ ดูแลมาตรฐานวิจัยและพัฒนาความรู้และงานวิจัยใหม่ๆตลอดจนเผยแพร่ความรู้ โดยเน้นด้านไฟฟ้ากำลัง คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม ระบบอิเล็กทรอนิกส์ระบบวัดคุม โดยนักวิจัยเหล่านี้มีอยู่ทั่วโลก และจะแบ่งกลุ่มศึกษาตามความเชี่ยวชาญของแต่ละบุคคล กลุ่มหมายเลข IEEE ที่ได้รับการยอมรับจากองค์กรควบคุมมาตรฐาน
-----------------------------------------------
2.2) มาตรฐานสากลในการการออกแบบและติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้า
- เนื่องจากหลายๆ ประเทศโดยเฉพาะประเทศในทวีปยุโรปมีมาตรฐานการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าเป้นของตนเอง ซึ่งจะมีความแตกต่างในรายละเอียดต่างๆเป็นอย่างมาก ดังนั้น IEC จึงได้ทำมาตรฐานเกี่ยวกับการติดตั้งระบบ อุปกรณ์ไฟฟ้า ขึ้นในปี 1972 คือ IEC-60364 “ Electrical Installation of Buildings ” ซึ่งมีอยู่หลายฉบับ
- ในมาตรฐานนี้ IEC 60364 นี้ คณะกรรมการฝ่ายเทคนิคผู้ร่างได้ใช้มาตรฐานการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าของหลายประทศเป็นตัวอย่างรวมทั้ง NEC ด้วยเพื่อให้มาตรฐานที่ได้เป็นสากล และสามารถปฎิบัติได้
- มาตรฐาน IEC-60364 นี้ได้แก้ไข และปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา เพื่อมห้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ในขณะนี้ประเทศในทวีปยุโรปหลายประเทศ ได้นำมาตรฐานนี้มาใช้กันแล้ว โดยเฉพาะประเทศสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ได้เลิกใช้มาตรฐานของตนเอง ซึ่งมีมานับร้อยปี โดยหันมาใช้ IEC-60364 แทนตั้งแต่ปี 1983 คือ Regulation for Electrical Installation ของ The Institute of Electrical Engineer (IEE)
-----------------------------------------------
2.3) มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย
- การติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยนั้น ในอดีตการไฟฟ้า นครหลวง(กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ต่างมรมาตรฐานของตนเอง ข้อกำหนดส่วนมากจะเหมือนกัน แต่ก็มีบางส่วนที่ต่างกันทำให้ผู้ออกแบบระบบไฟฟ้าและผู้ติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าเกิดสับสน ด้วยเหตุนี้สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) หรือ The Engineering Institute of Thailand (EIT) ด้วยความร่วมมือจากการไฟฟ้าทั้งสองแห่งดังกล่าวได้จัดทำ “ มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย ” ขึ้นเพื่อให้มั่งประเทศมีมาตรฐานเรื่องการติดตั้งไฟฟ้าฉบับเดียวกัน
- มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยฉบับใหม่นี้ เนื้อหาส่วนมากจะแปลและเรียบเรียงมาจาก NEC และก็มีความพยายามที่จะนำมาตรฐานของ IEC มาใช้ด้วย โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ไฟฟ้า
- มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2556 ถือเป็นฉบับล่าสุดในขณะนี้ โดยเนื้อหาส่วนมากแปลและเรียบเรียงจาก NEC และก็มีความพยายามที่จะนำมาตรฐานของ IEC มาใช้ด้วย โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ไฟฟ้า สีของสายไฟ และการคำนวณหาพิกัดกระแสของสายไฟฟ้า เป็นต้น
-----------------------------------------------
เครดิต...ผู้ถ่ายทอดความรู้โดย... อาจารย์ ผศ. ประสิทธิ์ พิทยพัฒน์ (จากหนังสือการออกแบบระบบไฟฟ้า)